5 มหาเศรษฐี ผู้ประสบความสำเร็จร่ำรวยระดับโลก กลยุทธ์การลงทุนที่นักลงทุนทั่วไปยึดเป็นต้นแบบในลงทุน จิตวิทยาในการลงทุนขั้นเทพ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
1. วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Edward Buffett)
เขาคือ นักลงทุน นักธุรกิจ และผู้ใจบุญชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงระดับโลก บัฟเฟตต์เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก และเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ควบตำแหน่ง CEO ของบริษัทเบิร์กเชียร์ นอกจากนี้ เขายังเป็นเพื่อนกับ บิลล์ เกตส์ อีกหนึ่งมหาเศรษฐีระดับโลก ซึ่งเคยชวนให้เขาร่วมลงทุนในบริษัทไมโครซอฟท์ แต่วอรร์เรนก็ขอปฏิเสธ เนื่องจากไม่มีความเข้าใจในระบบธุรกิจประเภทนี้ แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยินดีที่จะบริจาคเงินจำนวนมหาศาลแก่มูลนิธิของบิลล์ เกตส์เมื่อครั้งที่ยังศึกษาในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียอยู่นั้น บัฟเฟตต์ได้ศึกษาถึงปรัชญาการลงทุนจาก เบนจามิน เกรแฮม หลังจากนั้นก็นำปรัชญาการลงทุนจาก ฟิลิป ฟิชเชอร์ มาปรับประยุกต์เข้าด้วยกัน วอร์เรน บัฟเฟต์ ถือเป็นนักลงทุนที่เน้นคุณค่าของหุ้นที่มั่นคงในระยะยาว มากกว่าการเก็งกำไรในระยะสั้น
ในโลกของการลงทุน บัฟเฟตต์มักจะได้รับฉายาว่าเป็น เทพพยากรณ์แห่งโอมาฮา หรือไม่ก็ปราชญ์แห่งโอมาฮา เขามีชื่อเสียงจากปรัชญาการลงทุนด้วยการนำปรัชญาที่เคยศึกษามาประยุกต์จนใช้งานได้จริง
แม้ว่า บัฟเฟตต์ จะได้รับการจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก และได้รับการยกย่องเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดก็ตาม แต่เขามักจะมีความเป็นอยู่อย่างประหยัด และยังเปี่ยมไปด้วยความใจบุญ จากที่คอยบริจาคเงินอย่างสม่ำเสมอให้กับมูลนิธิการกุศลต่างๆ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ในช่วงครึ่งปีแรกของปี ค.ศ. 2008 ด้วยจำนวนเงิน 62,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังได้รับจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ให้เป็นบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับสามในปี 2554 โดยมีทรัพย์สินประมาณ $50.0 พันล้าน และในปี 2555 นิตยสารอเมริกัน ก็ได้ยกย่องบัฟเฟตต์เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอีกด้วย
2. เจสซี่ ลิเวอมอร์ (Jesse Livermore)
J.L. เริ่มเข้าวงการหุ้นตั้งแต่อายุ 14 ปี เขาทะเลาะกับพ่อจนต้องหนีออกจากบ้าน ทิ้งชีวิตชาวไร่และการทำฟาร์มแบบพ่อและแม่ในเขตชนบทเมือง และเริ่มต้นจากการเป็นเด็กเดินโพย เขียนกระดานหุ้น ในห้องค้า Webber เมืองบอสตัน ตั้งแต่อายุได้ 15 ปี หลังจากนั้นเพียงปีเดียว เขาก็เริ่มเล่นหุ้น แต่เนื่องจากมีเงินน้อย เขาจึงเริ่มเล่นตาม ‘ห้องค้าเถื่อน’ ที่รับ ‘แทงหุ้น’ โดยอิงกับราคาหุ้นบนกระดาน โดยการเก็งกำไรครั้งแรกร่วมกับเพื่อนของเขา เขาสามารถทำกำไรได้ถึง $3.12 ต่อหุ้น หลังจากนั้นไม่นานเขามีกำไรสะสมถึง $1,000
วิธีการของเขาคือ การมองมหภาคบวก กับการจดบันทึกการเคลื่อนไหวของหุ้นที่เขาสนใจติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เพื่อทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของรายใหญ่ที่เล่นหุ้นตัวนั้นอยู่ (รวมทั้งพฤติกรรมของตัวเขาเองด้วย) และเชื่อว่าไม่ว่าบริษัทจะดีเพียงใด เวลาที่ตลาดพัง หุ้นทุกตัวก็จะไป ดังนั้นภาวะตลาดจึงมึความสำคัญเหนือตัวหุ้น
3. คาร์ลอส สลิม เฮรู (Carlos Slim Helu)
สลิมจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเม็กซิโก ก่อนผันตัวเองมาเป็นโบรกเกอร์ในตลาดหุ้นและเริ่มเรียนรู้การลงทุนในธุรกิจหลายประเภท จนกระทั่งต้น ค.ศ. 1980 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในละตินอเมริกาทำให้ธุรกิจจำนวนมากล้มครืน จึงเป็นโอกาสให้สลิมได้เข้าไปกว้านซื้อบริษัทที่ประสบปัญหาในราคาถูก ก่อนจะเปลี่ยนบริษัทเหล่านี้ให้กลายเป็นกิจการที่มีมูลค่ามหาศาลในเวลาไม่กี่ปีต่อมา ทั้งบริษัทจำหน่ายน้ำดื่ม บริษัทรับเหมาก่อสร้าง และห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะธุรกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคม อย่าง บริษัท เตเลโฟโนส เด เมฮิโก หรือ เตลเม็กซ์ (TELMEX) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานแบบผูกขาด ที่เขาซื้อมาจากรัฐบาลเม็กซิโกเมื่อปี 1990 ด้วยเงิน 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนั้น ยังมีบริษัทด้านการสื่อสารแบบไร้สาย อเมริกา โมบิล ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีผู้ใช้บริการมากกว่า 100 ล้านคนทั่วละตินอเมริกา
ไม่เพียงแต่การทำธุรกิจเท่านั้นที่ คาร์ลอส สลิม เฮลู ทำ นอกจากนี้เขายังมีโครงการตอบแทนสังคมอีกมากมายเช่นกัน เช่น มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ของพ่อมดไอทีบิล เกตส์ ขณะที่คาร์ลอส สลิมเองก็ใช้ความร่ำรวยของเขาตอบแทนสังคมจนได้รับรางวัลจาก World Education and Development Fund
กลยุทธ์ทางการลงทุนที่น่าสนใจของสลิม คือการรู้จักฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจได้ก่อนคนอื่น ๆ การรู้จักสร้างคอนเน็คชั่นในทุกรูปแบบทั้งเชิงการค้า และแนวการเมือง ซึ่งก็คือวิสัยทัศน์ที่เฉียบขาดของเขา จนทำให้ไม่มีคู่แข่งในตลาดเหลือรอด ซึ่งกลเม็ดเคล็ดลับนี้ตัวเขาเองบอกว่าเขาได้มาจากการอ่านหนังสือของ อัลวิน ทอฟเลอร์ นักเขียนระดับปรมาจารย์แนวการตลาดระดับโลกนั่นเอง
4. มาร์ติน ชวาร์ตซ์ (Martin Schwartz)
ชวาร์ตซ์ คืออีกหนึ่งสุดยอดเซียนหุ้นระดับตำนาน ด้วยผลงานการเทรดของเขาที่ไม่ธรรมดา ในปีแรกของการเป็นเทรดเดอร์ เขาสามารถทำเงินได้ถึง $600,000 ก่อนเบิ้ลเป็นสองเท่าในปีถัดมา และเคยทำเงินได้ถึง $70,000 ในการเทรดเพียงหนึ่งวัน นอกจากนี้ เขายังได้ตำแหน่งแชมป์การเทรดในรายการ U.S. Investing Championship เมื่อปี 1984 ซึ่งถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติสำหรับเหล่าบรรดานักเล่นหุ้นชาวอเมริกันเลยทีเดียว!!สิ่งที่ทำให้ ชวาร์ตซ์ ประสบความสำเร็จในการเป็นเทรดเดอร์ หลังจากล้มเหลวมานานกว่า 10 ปี นั้น มาจากหลักการเทรดที่ไม่พยายามเพิ่ม volume การเทรด จนกว่าจะสามารถดับเบิลพอร์ตได้ เพราะคนส่วนใหญ่มักทำผิดพลาดโดยการพยายามเพิ่ม volume ในการเทรดทันทีที่เขาเพิ่งเริ่มจะที่จะมีกำไร และนั่นเป็นหนทางแห่งหายนะที่ทำให้ต้องเดินออกไปจากตลาดแห่งนี้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญ คือต้องพยายามหาลักษณะการลงทุน การเทรดหุ้นต่างๆ ที่ถนัด และเหมาะสมกับตัวเอง
จุดเริ่มต้นของ ชวาร์ตซ์ นั้น เริ่มต้นจากเขาจบจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เขาเลือกทำงานที่ US Marine Corp. หลังจากนั้น จึงตัดสินใจลาออกไปเป็นนักวิเคราะห์ให้กับโบรกเกอร์แห่งหนึ่ง ในช่วงที่เขาทำงานอยู่ ก็เริ่มเรียนรู้การลงทุนในตลาดหุ้น ทว่าก็ประสบความล้มเหลวตลอดในช่วงเวลา 10 ปีแรก จนเกือบจะต้องล้มละลายในช่วงปี 1970
แต่ ชวาร์ตซ์ ก็ไม่ได้สิ้นหวังไปเสียทีเดียว เพราะเขาไม่ยอมแพ้ และได้ค้นพบหนทางของตัวเอง คือหนทางในการเก็งกำไรโดยใช้เทคนิคคอล จนในที่สุด เขาจึงตัดสินใจลาออกจากงานในขณะที่มีเงินเก็บทั้งหมด $110,000 เขาใช้เงิน $92,500 จ่ายเป็นค่าที่นั่งใน floor ที่ตลาด American Stock Exchange ทำให้เขาเหลือเงินเพียง $20,000 เขาจึงต้องหยิบยืมเงินจากคนอื่นอีก $50,000 ทำให้เขามีเงินในการเริ่มต้นเทรดทั้งสิ้น $70,000 ก่อนเริ่มทำเงินอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็นคนดังในที่สุด
ผลงานการเทรดของเขายังคงเป็นตำนานให้เทรดเดอร์รุ่นใหม่ๆ กล่าวถึงอยู่เสมอ ลองคิดดูสิจะมีซักกี่คนบนโลกใบนี้ที่ทำกำไรเฉลี่ยต่อปีจากการเล่นหุ้นได้ถึงเกือบ 100% ต่อปี ย้ำแถมยังทำกำไรยาวนานถึงกว่า 10 ปีอีกด้วย สิ่งนี้เองทำให้เขาได้รับการกล่าวขานให้เป็น ตำนานของตำนาน! ของบรรดาเหล่านักเล่นหุ้นระยะสั้นสำหรับชาวอเมริกัน
5. จอร์จ โซรอส (George Soros)
นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี เป็นนักวิเคราะห์ค่าเงิน นักลงทุนหุ้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Soros Fund Management และสถาบัน Open Society Institute เดิมชื่อ จอร์จี ชวาร์ตซ์ (György Schwartz)โซรอส มีฉายาว่า พ่อมดทางการเงิน เขาเป็นต้นแบบสำหรับคนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี โดยโซรอสออกจากบ้านเกิดที่ประเทศฮังการีแบบเสื่อผืนหมอนใบ เพื่อไปตายดาบหน้าในต่างประเทศ เมื่ออายุ 17 ปี ก่อนเริ่มต้นทำงานทุกอย่างที่ขวางหน้า อดทน จนสามารถเรียนจบปริญญาตรีได้ก่อนกำหนด และเมื่อย้ายไปอยู่สหรัฐอเมริกา โซรอสได้ทุ่มเททำงานแบบหามรุ่งหามค่ำ ศึกษาวิชาของเขาอย่างแตกฉาน จนสามารถตั้งทฤษฎีใหม่เป็นของตัวเองได้ ทฤษฎีของเขาคงมีส่วนถูกต้อง มันจึงทำให้เขาได้รับผลสำเร็จทางการเงินอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นสมาชิกในคณะกรรมการของ Council on Foreign Relations และยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง Center for American Progess
ในด้านกลยุทธ์การลงทุนของโซรอสนั้น เขาจะเน้นไปที่การทำกำไรระยะสั้น หาผลตอบแทนในทุกรูปแบบจากตลาด (Absolute Return) ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ค่าเงิน หรือสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ทั้งนี้ คำว่า สั้น ของโซรอสนั้น ก็อาจกินเวลาเป็นเดือน หรือเป็นปี ขึ้นอยู่กับหุ้นแต่ละชนิด
Jim Ware (เขียนหนังสือ The Psychology of Money) ได้พูดถึง พฤติกรรมของนักลงทุนทั่วไปไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว เขาอ้างถึงการศึกษาของนักจิตวิทยาชิ้นหนึ่งที่พบว่า 98% ของพฤติกรรมของนักลงทุน
ที่มารูปภาพ Jim Ware
เขาพบว่าในโลกมีวิธีลงทุน ซึ่งมีความแตกต่างกันแทบจะสิ้นเชิง ทั้งในแง่ปรัชญาและวิธีการบริหารจัดการลงทุน 5 แบบ
1. Value Warren
2.Growth peter Lynch
3.Trading George Soros
4.Theme ("มันคืออะไร) Ralph Wanger
5.Technical Marty Zweig (เริ่มศึกษาเทคนิเคิลคุณจะได้แรงบันดาลใจจากคนนี้)
อย่างไรก็ตาม Jim Ware พบว่า ปรมาจารย์ ทั้งห้ามีสิ่งเหมือนกัน มากถึง8 ประการ
- เปิดรับข้อมูล ไม่ตีกรอบตัวเอง(Breadth)
- ช่างสังเกต ใส่ใจในทุกรายละเอียด(Observation)
- มองอย่างเป็นกลาง ไม่มีอคติ (Objectivity)
- มั่นคงในหลักการ รักษาวินัย ( Discipline)
- มีสมาธิแน่วแน่( Concentration) ใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง (Depth)
- คิดสร้างสรรค์ มองภาพใหญ่ ไม่ยึดติด กับกรอบความคิด (Creativity)
- ทุ่มเทในสิ่งที่รักโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ (Passsion)
- มีความยืดหยุ่น ยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Flexibility)
สรุปว่า การจะประสบผลสำเร็จในเรื่องใดๆก็แล้วแต่ ล้วนขึ้นอยู่กับคุณภาพของความคิด ซึ่งเป็นสิ่งทีกลั่นมาจากภายใน (Inside Out) แม้ไม่ง่ายแต่คงไม่ยากเกินความพยายามของทุกท่าน
เราชาวพุทธ น่าจะนำคำสอน ท่านพุทธทาส เรื่องจิตว่าง มาใช้ โดยท่านสอนว่า
"จิตว่าง" หมายถึงว่างจากกิเลส ว่างจากอุปทาน ว่านี่เป็นตัวกู เป็นของกู ซึ่งจะทำให้สามารถพินิจพิจารณา สิ่งต่างๆ โดยอิสระ จากความโลภ โกรธ หลง จึงเกิดปัญญา ที่จะวิเคราะห์ สิ่งต่างๆ อย่างเป็นกลาง และ ตามความเป็นจริงได้
หลักจิตวิทยาการลงทุนตามแนวคิดของ Bailard Biehl และ Kaiser ได้อธิบายหลักจิตวิทยาการลงทุนใน 4 ลักษณะ คือ การเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัย (Adventure) การเป็นนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเอง (Individualist) การเป็นนักลงทุนประเภทชอบมีชื่อเสียง (Celebrity) และการเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์ (Guardian)
1. การเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัย (Adventure)
การเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัย (Adventure) เป็นนักลงทุนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง รวมถึงการเป็นผู้ที่มีความสุขในการตัดสินใจ ใช้ชีวิตอยู่กับความไม่แน่นอน และเมื่อต้องการตัดสินใจ ก็มักจะตัดสินใจแบบทันที โดยอาจจะไม่มีการไตร่ตรองให้เกิดความรอบคอบ รวมถึงการเป็นนักลงทุนแบบมุ่งหวังผลตอบแทนเป็นหลัก (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2546 (3)) จากลักษณะดังกล่าวข้างต้นมีส่วนคล้ายคลึง กับการมีบุคลิกภาพแบบ Introversion ตามที่ Jung (1969) ได้กล่าวว่าการมีบุคลิกภาพแบบ Introversion จะเป็นบุคคลที่มีความสนใจในความคิดและความรู้สึกของตนเอง มักจะหมกมุ่นอยู่กับความคิดและความรู้สึกของตนเอง ไม่สนใจ สังคมภายนอก เป็นคนค่อนข้างเงียบและมีเหตุผลเป็นของตนเอง และมีความสอดคล้องกับบุคลิกภาพของ Mosak,(1977) ในส่วนของ The Ruling Type เป็นบุคคลที่ไม่สนใจ
ผู้อื่นนอกจากตนเองมีความต้องการควบคุมคนอื่นให้ยอมรับ ในความคิดเห็นของตนเอง โดยเชื่อว่าตนเองมีแนวทางของการตัดสินใจที่มีเหตุผลเพียงพอ จากลักษณะบุคลิกภาพที่ Jung (1969) และ Mosak (1977) สามารถสะท้อนถึงจิตวิทยาที่อาจจะเกิดขึ้นกับการเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัยที่อาจจะนำความเดือดร้อนมาสู่ตนเองได้
เพราะอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่นอกลู่นอกทาง และพฤติกรรมที่ขาดสติในการตัดสินใจได้ เนื่องจากการเป็นนักลงทุนประเภทผจญภัยจะมีความคิดเห็นของตนเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางของจิตวิทยา ที่มีผลต่อการตัดสินใจโดยไม่รู้ตัวเอง วิธีการที่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจกับอุปสรรคทางจิตวิทยาเหล่านี้ได้ คือ การจัดกระบวนทางจิตวิทยาที่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องในสถานการณ์ขณะนั้น (Kahneman and Riepe, 1998) นอกจากนี้ Kahneman และ Tversky (1982) กล่าวว่า การค้นหากฎเกณฑ์ที่มีความเป็นมาตรฐานและความถูกต้องมากกว่าการใช้ประสบการณ์แบบไม่ตั้งใจมาเป็นพื้นฐานการตัดสินใจในการลงทุน อาจทำให้เกิดความผิดพลาดและความเสียหายขึ้นได้
นักลงทุนที่เริ่มก้าวสู่ตลาดหุ้นหากประเมินความเฉลียวฉลาดและความสามารถของผู้อื่นต่ำ จะมีความหลงตัวเองได้ง่ายและมีความคิดเห็นว่ าตนเองสามารถคาดคะเนสถานการณ์ของการลงทุนได้เป็นอย่างดี ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในการลงทุนได้ ซึ่งรวมถึงเมื่อนักลงทุนต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากแก่การตัดสินใจก็มักจะใช้เหตุการณ์ที่ผ่านมาเป็นกระจกมองหาหนทาง การแก้ไขปัญหาโดยมีความคิดเห็นว่า “เรารู้อยู่แล้วว่าควรจะทำอย่างไรแต่คนอื่นเขาไม่รู้” ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างอันตราย เนื่องจากตลาดหุ้นเปรียบเสมือนตลาดของการแข่งขันของนักลงทุนอื่นๆ ที่มีความรู้และความสามารถที่มีความแตกต่างกันมีความผันผวนไม่แน่นอนตลอดเวลา (Kahneman Slovic and Tversky, 1974) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Hadady (1983) พบว่า การประเมินความรู้และความสามารถของนักลงทุนรายอื่นๆ ต่ำไป และทำให้
รู้สึกว่าการคาดคะเนอนาคตเป็นเรื่องง่าย แต่ความจริงกลับกลายเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไปซึ่งจะมีผลเสียมากกว่าผลดีในการลงทุน
2. การเป็นนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเอง (Individualist)
การเป็นนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเอง (Individualist) เป็นนักลงทุนที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงเป็นผู้ที่มีความสุขในการตัดสินใจ เช่นเดียวกับนักลงทุนประเภทผจญภัย จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการตัดสินใจที่มีความรอบคอบระมัดระวัง โดยนักลงทุนประเภทนี้จะมีดุลพินิจของการลงทุนที่มีความถี่ถ้วนที่มุ่งหวังผลอย่างมีเหตุผลถ้าต้องลงทุนด้วยตนเอง แต่ถ้าหากว่าให้ความไว้วางใจกับผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจัดการลงทุนให้แล้ว ก็มักจะไม่เข้าไปยุ่งให้เกิดความวุ่นวาย (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2546 (3))จากลักษณะจิตวิทยาของนักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเองดังกล่าวข้างต้น เมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดของอนุสร จันทพันธ์ และบุญชัย โกศลธนากุล (2546) ในเรื่องเกี่ยวกับจริต 6 ศาสตร์ในการอ่านใจคนพบว่า นักลงทุนประเภทเป็นตัวของตนเองจะมีลักษณะคล้ายกับจิตวิทยาแบบศรัทธาจิตที่มีการพิจารณาในเรื่องของจุด
3. การเป็นนักลงทุนประเภทชอบมีชื่อเสียง (Celebrity)
การเป็นนักลงทุนประเภทชอบมีชื่อเสียง (Celebrity) เป็นนักลงทุนที่มีความวิตกกังวล ในขณะเดียวกันก็มักจะเป็นนักลงทุนที่ตามกระแสกลัวที่จะตกข่าว จึงมักจะตัดสินใจเร็วโดยขาดความระมัดระวัง ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเป็นลูกค้าของบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์มากกว่าจะเป็นลูกค้าของผู้จัดการกองทุน (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2546 (3)) สิ่งสำคัญที่สุดในตลาดหุ้น คือ การควบคุมความตื่นตระหนกของตนเองไว้ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ในการตัดสินใจ ซึ่งมีผลมาจากจิตวิทยาของนักลงทุน โดยส่วนมากแล้วการควบคุมอารมณ์ตามที่ Thaler (1993) กล่าวถึง มีขั้นตอนดังนี้
- การบันทึกความรู้สึกนึกคิดลงบนกระดาษ
- เน้นเรื่องข้อเท็จจริงอย่าพยายามหาข้ออ้างให้กับพฤติกรรมของตน
- เรียงลำดับเหตุการณ์ก่อนหลังให้ชัดเจน
- ระบุปัจจัยทางบวกและทางลบ
- ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถในการศึกษาปัญหาอย่างพินิจพิเคราะห์
- คาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
จากการศึกษาของ Belsky และ Gilovich (1999) พบว่า ในปี 1980 ที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา มีข่าวลือเกี่ยวกับการเล่นแชร์พิระมิด (Pyramid) โดยผู้ที่เล่นแชร์จะได้รับเงินตอบแทนถึง 16,000 ดอลลาห์สหรัฐ ซึ่งทำให้ทุกๆ คนมีความแตกตื่นตามกระแสของการเล่นแชร์ ครั้งนั้น ผลปรากฏว่ามีคนมากกว่า 100,000 คน เบิกเงินสด 1,000 ดอลลาห์สหรัฐจากธนาคาร โดยนัดพบกับนายหน้า เพื่อมอบเงินให้ โดยมีความหวังว่าจะได้ผลตอบแทน 16,000 ดอลลาห์สหรัฐกลับคืนมา ความโลภดังกล่าวทำให้สูญเสียเงินไปเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการเล่นแชร์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสอดคล้องกับความโลภตามกระแสในตลาดหุ้น โดย Epstein และ Garfield (1992) พบว่านักลงทุนในตลาดหุ้นจะถูกอิทธิพลตามกระแสโดยมีดัชนีว่าด้วยความโลภ (Greed Index) ประเภทหนึ่งที่จะเตือนใจให้นักลงทุนมีจิตวิทยาที่เข้มแข็ง ซึ่งจะเตือนให้นักลงทุนทราบถึงวิกฤติที่ซ่อนเร้นในตลาดหุ้น กล่าวคือ เมื่อดัชนีราคาหุ้นอยู่ในระดับสูงก็จะดึงดูดให้กระแสของการลงทุนมีจำนวนมาก นักลงทุนเหล่านั้นคิดหวังแต่ผลกำไรมองข้ามวิกฤติการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทำให้ราคาหุ้นทรุด เมื่อราคาหุ้นสูงขึ้นไปเรื่อยๆ ผลกำไรได้พอสมควรแต่ก็ยังไม่ตัดสินใจที่จะขายหุ้นเหล่านั้น โดยมีความคิดว่า “ขอให้ได้มากกว่านี้หน่อย และมากกว่านี้หน่อย” ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลพวงมาจากความโลภที่เกิดขึ้นกับนักลงทุนโดยส่วนมาก
4. การเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์ (Guardian)
การเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์ (Guardian) เป็นนักลงทุนที่มักจะมีความระมัดระวังรอบคอบค่อนข้างละเอียด และมีความวิตกกังวลมาก อีกทั้งยังเป็นคนที่รู้จักข้อจำกัดของตนเองและกลัวการตัดสินใจ ดังนั้นในการลงทุนมักจะมีความเต็มใจที่จะมอบความไว้วางใจ กับผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ เข้ามาช่วยในการจัดการลงทุนและมักมีความพอใจ ที่จะลงทุนแบบรอรับผลประโยชน์ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2546 (3)) การศึกษาของ Kahneman และ Riepe (1998) พบว่าทัศนคติมีผลต่อพฤติกรรม ทั้งนี้ทัศนคติของตนอาจจะเกิดขึ้นมาจากการติดต่อสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เช่น การเขียนการพูดคุย เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลโดยการต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ดังนั้นการเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์จะมีข้อจำกัดในตนเองในการลงทุน ถึงแม้ว่าตนเองจะมีความรอบคอบละเอียดก็ตาม การที่จะทำให้การเป็นนักลงทุนประเภทผู้พิทักษ์เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องพยายามหาผู้จัดการกองทุนมืออาชีพที่มีความรู้และประสบการณ์ในการลงทุนสูง ตลอดทั้งมีความซื่อสัตย์และจริงใจ ทั้งนี้ผู้ลงทุนอาจจะตรวจสอบจากผลการดำเนินงาน รวมถึงประกาศนียบัตรด้านวิชาชีพทั้งทางด้านการทำงานและจรรยาบรรณเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจ (Ploeg,1985)
การตรวจสอบความรู้และประสบการณ์ของผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ ถ้านักลงทุนมีความระมัดระวังรอบคอบและมีความละเอียดในการลงทุนแต่ละครั้ง โดยข้อมูลที่นักลงทุนสามารถพิจารณาผู้จัดการกองทุนมืออาชีพในด้านความรู้และประสบการณ์ ผู้จัดการกองทุนมืออาชีพควรมีความรู้ในเรื่องดังนี้ (Granville, 1960)
- อัตราเงินปันผล (Yield)
- แนวโน้มระยะสั้น (New-term Trend)
- แนวโน้มผลกำไร (Earning Trend)
- ผลประกอบการปีก่อน (Past Year’s Performance)
- แนวโน้มกำไรข้างเคียง (Profit Margin Trend)
- แนวโน้มเงินปันผลต่อหุ้นต่อปี (Earning Per ShareYearly Trend)
- อัตรากำไรตามราคาตลาด (Price-earning Ratio)
- การคั่งค้างของหุ้น (Shares Outstanding)
- แนวโน้มที่ต่อต้าน (Resistance Trend)
- แนวโน้มที่สนับสนุน (Support Trend)
นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารตลอดเวลา ถึงแม้ว่าจะมีผู้จัดการกองทุนมืออาชีพก็ตาม จากการศึกษาของ Hadady (1983) พบว่า การประสานข้อมูล และประสบการณ์ของนักลงทุน กับผู้จัดการกองทุนมืออาชีพ จะทำให้โอกาสของการได้ผลตอบแทนของการลงทุน ในตลาดหุ้น มีแนวโน้มที่ผู้ลงทุนมีระดับความพึงพอใจสูง
ที่มาแหล่งข้อมูล จาก สุดารัตน์ ทิพยเทอดธนา-จิตวิทยาการลงทุน
ติดตามช่องยูทูป พูดคุยเกี่ยวกับการลงทุน คลิปโตได้ตามลิงค์ด้านล่างคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
พลังจิตนาการ เนรมิตชีวิต เปลี่ยนชีวิตรวดเร็ว [ รับรองผลลัพธ์ โดยวิทยาศาสตร์ ด้วย Law of Attraction ]
9 อุปนิสัยทำลายชีวิต ต้นเหตุทำลายเป้าหมาย ทำให้ความฝันไม่เป็นจริง !!
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น