2 กฎวิธีสร้างอิสรภาพทางการเงิน กำจัดหนี้ตลอดกาล #เคล็ดลับฉลาดทางการเงิน
เราจะสร้างอิสรภาพทางการเงินได้อย่างไร กำจัดหนี้ หนีจากความจนตลอดกาล ?
คำถามนี้เข้าใจว่าทุกคนอยากมีอิสรภาพทางการเงินเพราะหากเรามีอิสระนั้นหมายความว่า เราสามารถใช้เงินสร้างความสะดวกสะบาย สร้างความสุขให้คนที่เรารักได้ หรือใช้เงินทำสิ่งต่างๆ ในสิ่งที่เราปรารถนาได้
ความจนไม่มีใครปรารถนา ทุกคนอยากออกห่าง
และไม่มีใครอยากนึกถึง หรือแม่แต่จะพูดถึง และคำว่าจนก็ยังอยู่ในแผนการของทุกรัฐบาลทุกประเทศ
ที่จะต้องแก้ไขปัญหาความยากจนของคนในชาติของตัวเอง และประเทศไทยถือว่ามีคนจนที่มีจำนวนมาก
2 กฎแห่งผู้มีอิสรภาพทางการเงิน : เคล็ดลับผู้ฉลาดทางการเงิน
1. กฎแห่งการไม่มีหนี้ หมดหนี้ชีวิตมีแต่ความสุข
2. กฎแห่งการเก็บออม เก็บออม ย่อมเป็นเศรษฐีในอนาคต
ทั้ง 2 กฎนี้ หากคุณทำตาม แน่นอนชีวิตของคุณเปลี่ยนแปลง
ผู้เขียนรับรองว่าคุณจะมีแต่ความสุข หนีออกห่างจากความจน มีหลักทรัพย์ให้ตัวเอง สิ่งสำคัญคุณต้องเริ่มต้นศึกษาอ่านหนังสือด้านการเงินและบริการการเงิน โดยคิดว่าคุณเป็นนักธุรกิจ กิจการของคุณคือรายได้ที่คุณสร้างขึ้น
ไม่ว่าจะทำอาชีพใด ไม่ว่าคุณจะเป็นลูกจ้างให้คุณคิดอย่างนักธุรกิจไว้เลย นั่นคือ
ธุรกิจชีวิตของคุณ คุณต้องรู้จักคำว่าบัญชี งบบัญชีรายรับรายจ่ายของตัวเอง
เรามาเริ่มเรียนรู้ทั้ง 2 กฎกัน
กฎข้อแรก : กฎแห่งการไม่มีหนี้ หมดหนี้ ชีวิตผ่าสุข: เมื่อคุณไม่มีหนี้ คุณย่อมหมดกังวล ชีวิตมีแต่ความสุข
สิ่งแรกคุณจะต้องออกจากวงจรหนี้ แก้ไขหนี้
วิธีแก้หนี้
แก้หนี้อันดับแรก
ต้องตัดสินใจ เราต้องเริ่มต้นจากการตัดสินใจเด็ดขาดจะไม่กลับมามีหนี้อีก คุณจะต้องสั่งจิตตัวเอง สั่งตัวเองให้ชัดเจน
หากคุณไม่ตัดสินใจ
คุณจะกลับมามีหนี้อีกครั้งและคุณจะไม่สามารถกำจัดหนี้ออกจากชีวิตได้
คุณจะวงเวียนอยู่กับการมีหนี้ตลอดชีวิต ดังนั้น เริ่มต้นชะ ตัดสินใจ
เมื่อคุณตัดสินใจแล้ว
เรามาเริ่มต้นบริหารจัดการหนี้ ดังนี้
1. เจรจากับเจ้าหนี้
หากคุณมีหนี้จำนวนมาก และอยู่ระหว่างค้างชำระหรือผิดชำระหนี้ หลายๆ เจ้า ขั้นแรกคนต้องวางแผนสร้างโปรแกรมจัดการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้สามารถคืนหนี้ได้ การแก้หนี้ให้ได้ประสิทธิผลยังไม่มีหนี้เยอะมากนัก เหมาะสำหรับคนที่ผิดนัดชำระหนี้แล้ว แต่ยังมีเงินพอจ่ายได้ เรียกว่า หนี้ดี ยังไม่เป็นหนี้เสีย
2. สร้างพฤติกรรมใหม่
ประเด็นนี้สำคัญมากหนี้เดิมคุณยังมี
แต่คุณไม่เปลี่ยนพฤติกรรมคุณจะสร้างหนี้ใหม่เพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น การหมดหนี้มันคือนิสัยของคุณ พฤติกรรมคุณ คุณจะต้องสร้างนิสัยใหม่ ถือเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหาหนี้
เปลี่ยนพฤติกรรม คือ :
สร้างพฤติกรรมด้านวินัยการใช้จ่าย กฎรู้จักใช้ให้น้อย
ให้คุณค่ากับรายการจ่ายทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้กับตัวเอง นำกฎเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับชีวิตในช่วงการบริหารจัดการหนี้จนกว่าหนี้คุณจะหมด
และใช้จ่ายเฉพาะปัจจุบัน 4 เน้นสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น
หากคุณทำติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง คุณจะเกิดนิสัยใหม่
สร้างพฤติกรรมด้านการเก็บออม กฎเก็บออมก่อนใช้ หารายได้มาเท่าไรก็แล้วแต่สิ่งแรกคุณจะต้องเก็บก่อนจ่าย คือ ไม่ว่าจะมีรายได้มาจากทางไหนและไม่ว่าจะเท่าไร สิ่งแรกสร้างนิสัยเก็บออมไว้ก่อนเสมอ โดยหักเก็บไว้เสมอขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 10%
สร้างพฤติกรรมด้านพัฒนาเรียนรู้และเพิ่มทักษะอาชีพใหม่ๆ ให้ตัวเองตลอดเวลา กฎเพิ่มทักษะอาชีพใหม่ๆ ความตระหนักรู้พัฒนาตัวเองย่อมสร้างชีวิตใหม่ให้คุณเสมอ
หลายคนทำงานอาชีพเดียว แต่สำหรับมหาเศรษฐีพวกเขาทำงานมากว่า 1 อย่าง ดังนั้น จึงมีรายได้หลายทางและหากธุรกิจที่หนึ่งมีปัญหาเขายังมีธุรกิจอื่นรองรับได้
ดังนั้น การสร้างพฤติกรรมพัฒนาเรียนรู้และสร้างทักษะอาชีพให้กับตัวเองมากกว่า 1
สิ่ง หาสิ่งใหม่ๆ ให้กับตัวเองคุณจะมีความสุข สนุกสนาน รายได้วิ่งเข้ามาหลายทาง
3. กำจัดหนี้นอกระบบออกให้หายไป
หลายคนมีหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ โดยหนี้ในระบบเป็นหนี้มูลค่าสูง
เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต
แต่หนี้นอกระบบเป็นหนี้ส่วนบุคคลที่เทียบกับหนี้บ้าน รถ
ที่มูลค่าเป็นหลักล้านไม่ได้ แต่สำหรับหนี้นอกระบบมูลค่าไม่สูงแต่สิ่งสำคัญดอกเบี้ยมันสูงเกินกว่าเงินต้น
หลายคนทำลายตัวเองเพราะหนี้นอกระบบ
จากข่าวที่โด่งดังหรือข้อมูลสถิติของรัฐบาล พบว่าจะเห็นว่าคนที่เป็นหนี้นอกระบบมีสัดส่วนลดลงในปัจจุบันเห็นได้ชัดมากหากเทียบกับยุคสมัยก่อน ที่สำคัญหากไปตามต่างจังหวัดแถบไม่มี หรือมีน้อยมากให้เทียบกับสมัยก่อน
ผู้เขียนจำได้ว่าสมัยก่อนคนต่างจังหวัดเมื่อทำนาเสร็จไม่มีเงินส่ง ธกส. มักไปกู้ยืมเงินนอกระบบไปใช้หนี้ แต่ปัจจุบันเริ่มหายไป สังเกตจากญาติของผู้เขียนเอง สมัยก่อนมักไปกู้ยืมนอกระบบ ตั้งแต่เจอพิษเศรษฐกิจและโรคโควิด-19 การใช้ชีวิตเริ่มระมัดระวังกันมากขึ้นไม่กู้นอกระบบ แต่พวกเขายังมีการกู้ยืมกันอยู่เพียงแต่หันมาใช้การกู้เงินในระบบผ่านธุรกิจเช่าซื้อ (Leasing) บริษัทที่ให้บริการทางการเงินแต่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) หรือ Local NoN bank ที่เป็นแบบท้องถิ่นผุดเป็นดอกเห็ด ซึ่งเขาก็ทำการตลาดเจาะระดับฐานรากให้เข้าถึงเงินกู้ได้ง่ายขึ้น
เรามารู้จักนิยมคำว่า "ความจน คนจน"
นิยามของความจน คืออะไร
เรื่องนิยามของความจนนั้น หากเรานิยามตามนักเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ก็นิยามเรื่องของความยากจนโดยเอาตัวรายได้มาเป็นตัววัด หรือมิฉะนั้นก็เอาตัวทรัพย์ที่ขายในตลาดได้มาเป็นตัววัด เพราะฉะนั้น โดยวิธีการวัดแบบนักเศรษฐศาสตร์นั้น
และหากจะให้นิยาม
"ความยากจน" อันที่หนึ่งก็คือ "การไม่มีทางเลือก"
ในทัศนะขอความคิดที่ว่า "ไม่จน"
เพราะ"มีทางเลือก" แต่ว่าแน่นอน มนุษย์มีทางเลือกในขีดที่จำกัดเสมอ ตั้งแต่สมัยก่อน
เราจะเห็นคนในสมัยอยุธยาไม่สามารถที่จะไปเป็นนักคอมพิวเตอร์ได้เพราะสมัยนั้นไม่มีนั้นเอง
ซึ่งหนีไม่พ้นที่พวกเขาจะต้องเป็นเกษตรกร แต่สมัยนี้เราทุกคนมีทางเลือกสิ่งใหม่ๆให้กับชีวิตของเราได้เสมออยู่ที่คุณจะเลือกให้ตัวเองจนตลอดชีวิต
หรือหนีออกจากความจน
ผู้เขียนขอสรุปว่า หากเราต้องการอิสรภาพทางการเงิน สิ่งสำคัญต้องแก้ไขพฤติกรรมที่ทำให้จน โดยความจนเกิดจากนิสัยนำพาเสมอ ลักษณะความจนมี 2 ประเภทคือ
ประเภทที่ 1 จนชั่วคราว
คนกลุ่มนี้ เมื่อได้รับการช่วยเหลือ เขาก็พยายามสร้างให้ตัวเองออกห่างจากความจน ไม่กลับมาจนอีก เช่น เคยจนเพราะมีหนี้ คดีความ ก็จะพยายามหาเงินชำระ และกลับมามีชีวิตอีกครั้ง
ประเภทที่ 2 จนถาวร
คนกลุ่มนี้ ช่วยเหลือให้เงินเท่าไรก็ไม่หมด เพราะไม่สร้างนิสัยของผู้สำเร็จ เคยกับการขอความช่วยเหลือ ได้รับความช่วยและมักก็กลับไปจนเหมือนเดิม หากไม่ทำอะไรเลย ดังนั้น คนกลุ่มนี้ จะจนแบบถาวร
ผู้เขียนอยู่ในครอบครัวคุณพ่อแม่ยากจนทำนาทำสวนมีหนี้สินจำนวนมาก
หนี้จำนวนมากเกิดจากการทำนาทำสวน ยิ่งทำยิ่งจนลงมีหนี้สินมากขึ้น
สมัยผู้เขียนยังเป็นเด็กพ่อแม่ต้องวิ่งไปยืมเงินญาติพี่น้องเพื่อมาจ่ายหนี้ ธกส. และต้องขายที่ดินบางส่วนเพื่อใช้หนี้ หากเรายังคงเลือกเส้นทางอาชีพเดิมเราก็เป็นเหมือนเดิม แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ของผู้เขียนไม่เลือกเส้นทางเดิมท่านไม่ยอมให้ตัวเองเป็นคนจนถาวล ท่านทั้งสองเลือกหนีออกจากความจนด้วยการหาช่องทางอาชีพใหม่
ผู้เขียนจำได้แม่ผู้เขียนชอบไปเรียนรู้สูตรทำอาหารต่างๆ เพื่อเพิ่มทักษะอาชีพใหม่ให้ตัวเอง
จากคนที่ค้าขายไม่เป็น ท่านรักการเรียนรู้ ท่านเลือกอาชีพใหม่ด้วยวิธีการค้าขาย นี่คือ
เลือกเปิดรับสิ่งใหม่ การที่ท่านเลือกอาชีพใหม่ ทำให้ท่านมีเงินชำระหนี้จนหมด
และสามารถนำเงินมาส่งให้ผู้เขียนและน้องสาวเรียนจนจบมหาวิทยาลัยสำเร็จ
คนจน พวกเขามีช่องทางขยับขยายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเสมอ เช่น ที่บางแห่งไม่พอกินก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น เขาพอที่จะมีทางเลือกอยู่พอสมควร ซึ่งอันนี้เป็นเงื่อนไขที่มีความสำคัญมากๆ
ที่นี้คนพอที่จะมีทางเลือกได้ ก็หมายความว่าจะต้องมี "ฐานทรัพยากร"
ซึ่งขอตีความทั้งในแง่ "วัตถุซึ่งจับต้องได้"
ไม่ว่าจะเป็น ดิน น้ำ ป่า
หรืออะไรก็แล้วแต่ และอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ความรู้" ซึ่งเป็น
"สิ่งที่จับต้องไม่ได้" รวมไปถึงความเข้าใจในชีวิต
เข้าใจในสิ่งต่างๆ เพราะว่ามนุษย์เรานี้ ถ้าเราเอาความโลภมาเป็นตัวนำแล้ว
มันก็จนอยู่ตลอดเวลา อย่างที่พูดว่า “จนที่ใจ” คนที่มีทางเลือกต้องมีทรัพยากรเหล่านี้อยู่พอสมควร
กฎข้อที่สอง : กฏแห่งการเก็บออม สูตรลับการเก็บออมสู่อิสรภาพทางการเงิน คุณสามารถตรวจสอบ และดำเนินการได้ด้วยสูตรด้านล่าง
สูตรแรก : สรุปให้คุณได้รู้ คือ อัตราส่วนความอยู่รอด
ที่จะช่วยบอกว่ารายได้จากการทำงานและรายได้จากสินทรัพย์ที่มีอยู่เพียงพอต่อรายจ่ายหรือไม่
ถ้าผลลัพธ์ที่ได้มากกว่า 1 แสดงว่าคุณสามารถอยู่รอดได้ด้วยการทำงานและสินทรัพย์ที่มี
สามารถเลี้ยงตัวเองได้สบายๆ
อัตราส่วนความอยู่รอด = (รายได้จากการทำงาน +
รายได้จากสินทรัพย์) / รายจ่าย รอดแล้วเมื่อไหร่จะรวย นั้นก็คือ ความมั่งคั่ง เป็นที่มาของสูตรที่สอง
เกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่มาทำให้เกิดรายได้ เช่น ค่าเช่า ดอกเบี้ย
เงินปันผล ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น ถ้าผลลัพธ์มากกว่า 1 แสดงว่าคุณมีอิสรภาพทางการเงินระดับหนึ่งแล้วคะ ไม่ต้องทำงานก็สามารถมีรายได้เพียงพอต่อรายจ่าย
อัตราส่วนความมั่งคั่ง = รายได้จากสินทรัพย์ / รายจ่าย จากสูตรด้านบนเชื่อมั่นว่าหลายคนสามารถ
“อยู่รอด” ได้
น้อยคนจะก้าวเข้าไปสู่ความ “มั่งคั่ง” อย่างถาวร
อาจเพราะมีสินทรัพย์ไม่เพียงพอจะสร้างรายได้ หรือมีการใช้เงินมาก คุณสามารถเปลี่ยนเส้นทางชีวิตเพื่ออิสรภาพทางการเงินได้ดังนี้
1. สร้างวินัยให้ตัวเอง
วินัยทางการเงินของตัวเอง
2. มีสติและติดตามการใช้เงิน
3. หากคุณเก็บแบบเดิมไม่สำเร็จ เปลี่ยนวิธีการเก็บเงิน
4. ให้เงินทำงานแทน คือ ต่อยอดเงินออมด้วยการลงทุน ลงทุนแบบฉลาด เลือกลงทุนแบบ passive income ดีที่สุด
หากคุณทำทั้ง 4 ข้อนี้ได้ครบ รับรองว่า คุณจะมีอิสรภาพทางการเงิน ไม่ใช่เรื่องห่างไกลอีกต่อไปแล้วล่ะ
1. สร้างวินัยให้ตัวเอง
วินัยทางการเงินของตัวเอง
สร้างวินัยกับการเงินของตัวเอง
ผู้เขียนเองเคยมีหนี้จำนวนมากมาย สิ่งแรกที่เปลี่ยนชีวิตผู้เขียน คือ
การสร้างวินัยใหม่ จากคนไม่เคยเก็บออมเงิน
ผู้เขียนก็เริ่มวางแผนการเงินสร้างวิสัยให้กับตัวเอง ทุกสิ่งต้องเริ่มด้วยก้าวแรก
อิสรภาพทางการเงินก็ไม่ต่างกัน
และเพื่อที่จะก้าวเข้าไปสู่เส้นทางของอิสรภาพได้นั้นเราจำเป็นต้องมี “วินัย” เสียก่อน
วินัยทางการเงินคือความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงทำให้ตัวเองต้องจัดการบริการเงินอย่างมีระบบ เช่น การฝากประจำ การออมเงินเป็นสัดส่วน ยิ่งมีวินัยมากเท่าไหร่เราก็ยิ่งสามารถเก็บเงินง่ายขึ้นเท่านั้น และผลของวินัยทางการเงินที่เห็นได้ชัดที่สุดคือคุณจะสามารถเห็นเงินก้อนจากความพยายามที่สั่งสมมาอย่างชัดเจน
ตัวอย่างง่ายๆ คือคุณยอมออมเงินเดือนละ 3,000 บาททุกเดือน เป็นเวลา 1 ปี สิ้นปีคุณก็เห็นเงิน 36,000 บาทในบัญชีแล้ว
แต่คุณจะทำไม่ได้เลยหากขาดระเบียบการใช้จ่าย ขาดวินัยทางการเงิน
ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลง สร้างนิสัยและวินัยทางการเงินที่ดีได้ ด้วยการฝากประจำ เช่น
การฝากกับสถาบันการเงินหรือผลิตภัณฑ์ฝากประจำ 24 เดือนที่มีเงื่อนไขปลอดภัยภาษี เลือกให้เหมาะกับคุณ เพิ่งเริ่มต้นทางการเงินและต้องการต่อยอดอย่างเห็นผลเงินฝากประจำปลอดภาษี
2. มีสติและติดตามการใช้เงิน
คุณจะต้องมีสติและติดตามการใช้เงิน การออมที่ดีต้องมาคู่กับการวางแผนที่รัดกุม
หากต้องการอิสรภาพทางการเงินจริงๆ คุณต้องมีสติในการใช้เงิน คุณจะต้องมีการติดตามการใช้เงินของตัวเองว่า
มีการใช้จ่ายที่สิ้นเปลืองเกินไปหรือเปล่า เพื่อความสบายใจระยะยาว ซึ่งคุณสามารถติดตามการใช้เงินได้ด้วยการบันทึกรายรับรายจ่าย
ที่ปัจจุบันทำได้ง่ายๆ มีเครื่องทุนแรกช่วย เช่น แอปพลิเคชั่น
การติดตามการใช้เงินจะไม่แสดงประสิทธิภาพเลย
หากคนบันทึกไม่ได้ใส่ใจการใช้เงิน ดังนั้น นอกจากติดตามแล้วควรมานำวิเคราะห์ดูว่าค่าใช้จ่ายส่วนใดที่ไม่จำเป็นหรือใช้เกินความจำเป็นก็ลองปรับลด
แต่ถ้าทำแล้วไม่ได้จริงๆ ก็อาจต้องหารายได้เพิ่มแทน เพื่ออิสรภาพทางการเงินที่แท้จริงในอนาคต
3. หากคุณเก็บแบบเดิมไม่สำเร็จ เปลี่ยนวิธีการเก็บเงิน
หากคุณไม่เคยเก็บเงินได้เลยในแบบเดิมๆ ให้คุณเปลี่ยนวิธีเก็บเงินใหม่ หลังจากติดตามการใช้เงินแล้วก็ได้เวลาการ
“เปลี่ยนตัวเองใหม่” ยกระดับเกรดให้ตัวเอง เปลี่ยนวิธีการเก็บเงินของคุณใหม่
เพราะการเก็บเงินแบบธรรมดาๆ นั้นอาจไม่เพียงพอ
เรามารู้จัก สูตรการออม ลองมาคำนวณดูกัน
ลองคำนวณจากสมการ (รายได้ที่ต้องทำงาน + รายได้ที่ไม่ต้องทำงาน)
- รายจ่าย = เงินออม ก็จะพบว่าหากเก็บเงินแบบปกติ เช่น ฝากออมทรัพย์
หรือหยอดกระปุกเป็นหลัก เงินออมนั้นก็อาจไม่ค่อยจะเพิ่มขึ้นสักเท่าใดนัก
คุณสามารถเปลี่ยนวิธีการเก็บเงินให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นกว่าธรรมดาได้
โดยออมก่อนใช้จ่ายทีหลัง
วิธีนี้จะช่วยให้เราเก็บเงินได้เป็นกอบเป็นกำเลยทีเดียว
ออมก่อนใช้ สูตรลับมหาเศรษฐีทั่วโลกใช้หลักเกณฑ์นี้กันทั่วโลก หากวันนี้ คุณอยากเปลี่ยนแปลงชีวิต
คุณจำเป็นต้องใช้สูตรเดียวกับคนสำเร็จทำคนร่ำรวยพวกเขาใช้แบบไหนเราต้องเดินตาม คือ
การออมก่อนใช้นั้นเอง
แต่ถ้าอยากให้เงินเติบโตที่สุด มีอิสรภาพทางการเงินได้จริง
สิ่งที่เราหนีไม่พ้นเลยคือการลงทุน เพราะนั้น
หมายความว่าคุณกำลังให้เงินทำงานแทนคุณ ขยายดอกผลให้กับคุณ เรื่องนี้ไม่ใช่พึงมี แต่มีมาเนินนาน
4. แน่นอนคุณเคยได้ยิน คำว่า ต่อยอดเงินออมด้วยการลงทุน
อิสรภาพทางการเงินจะเกิดไม่ได้
ถ้าคุณไม่มีการลงทุน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
หากคุณพิจารณาดี ๆ อัตราส่วนความมั่งคั่ง
จากสูตรผู้ร่ำรวยมหาเศรษฐี พวกเขาใช้สูตรนี้ สร้างความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ผู้เขียนเป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและบริหารหนี้ให้กับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เป็นเวลา 20 ปี สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นพวกเขาเก็บเงินในขณะที่ยังมีหนี้สิน ฉะนั้น แม้พวกเขามีหนี้หลักร้อยล้าน แต่สิ่งที่ผู้มั่งคั่งร่ำรวยทำ คือ การบริหารเงินโดยนำรายได้ส่วนหนึ่งจากธุรกิจเก็บออมแบบชาญฉลาด ตัวอย่างเช่น นำเงินออมไปลงทุนซื้อตราสารหนี้ เงินออมประจำดอกเบี้ยสูงๆ หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ กองทุนต่างๆ สูตรสร้างสินทรัพย์สร้างความมั่งคั่งสู่อิสรภาพทางการเงินอันแท้จริง
ฉะนั้น แม้คุณจะมีหนี้สินคุณสามารถเก็บเงินออมได้ หลายคนเมื่อมีหนี้มักไม่เก็บเงิน โดยคิดว่าตัวเองเก็บเงินไม่ได้อ้างว่า "เก็บไม่ได้ ฉันมีหนี้เยอะแยะมากมาย จะเอาเงินที่ไหนไปเก็บ ยังไม่มีจะกินเลย" หากคุณยังคิดแบบนี้และไม่เริ่มเก็บเงิน คุณจะไม่มีทางไปสู่อิสรภาพทางการเงิน ไม่หลุดพ้นจากหนี้โดยเด็ดขาด
มาดูสูตรลับความมั่งคั่ง ผู้สำเร็จผู้มั่งคั่งร่ำรวยทุกคน มองหลักทรัพย์หรือสินทรัพย์มากกว่าทิ้งเงินไว้แค่ในบัญชี พวกเขาจะนำเงินไปสร้างให้เป็นหลักทรัพย์ให้ใหญ่ขึ้น
สูตรลับคำนวณความมั่งคั่งดังนี้
อัตราส่วนความมั่งคั่ง = รายได้จากสินทรัพย์
/ รายจ่าย
จะเห็นได้ว่าคุณต้องมี
“รายได้จากสินทรัพย์” ระดับหนึ่งเสียก่อน
และรายได้เหล่านั้นจำเป็นต้องลงทุน
สูตรหากคุณต้องการ Passive Income มาก
ยิ่งต้องมี Active Income มากด้วยเช่นกัน
ทั้งสองอย่างต้องทำงานสอดประสาน การหมุนเวียนของเงินจึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ การลงทุนคนต้องเลือกและเรียนรู้ก่อนเสมอ และคุณต้องเข้าใจ คือ การลงทุนมีความเสี่ยง
ผู้สำเร็จคนร่ำรวยพวกเขาไม่ได้ลงทุนช่องทางเดียว แต่พวกเขาเลือกการลงทุนหลายทาง เป็นการกระจายการลงทุนไปหลากหลายสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หุ้น
และสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น
แต่ถ้าคุณมีเงินไม่มากพอ
ก็สามารถหาตัวช่วยอย่างกองทุนรวมที่แต่ละบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน มีจัดจำหน่ายอยู่
โดยเลือกนโยบายตามที่ต้องการได้ ขั้นต่ำในการลงทุนขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละกองทุน
ถ้ายิ่งมีเงินออมมาก โอกาสที่จะลงทุนได้หลากหลายและกระจายความเสี่ยงในการลงทุนยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
คนมากมายอยากรวยขึ้น เพื่อจะได้อิสรภาพทางการเงิน แต่รู้หรือไม่ว่าอิสรภาพที่แท้ จริงไม่ได้หมายความถึงความร่ำรวย หลายคนมีเงินหลักร้อยล้านพันล้านแต่ก็ไม่มีอิสระเพราะอิสรภาพทางการเงินที่แท้จริง คือ การที่คุณสามารถอยู่อย่างมีความสุขได้แม้ว่าคุณจะไม่ทำงานก็ตาม
นี่คือ 2 กฎวิธีนำพาชีวิตสู่อิสรภาพทางการเงิน หนีออกจากความจนที่ผู้เขียนนำมาแบ่งปันในบทความนี้ หากผู้อ่านสนใจแนวจิตวิทยาแก้ไขปัญหาการเงินเคล็ดลับบริหารการเงิน แก้ไขปัญหาหนี้ สามารถติดตามอ่านบทความต่อไปได้คะ
แก้ไขปัญหาหนี้ สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้คะ
บทความที่เกี่ยวข้อง
หนีความจนตลอดกาล ทางลัดปลดหนี้ สร้างเงินล้านแรก ภายใน 6 เดือน #วิธีหมดหนี้ บริหารการเงิน
►ออกแบบตกแต่งปกและภาพประกอบ จาก : canva : จาก pixabay
ความคิดเห็น