จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก คืออะไร จิตใต้สำนึกมีอิทธิพลต่อชีวิตเราอย่างไร? นึกถึงแบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง

 


ประวัติเวอร์จิเนีย ซะเทียร์ (Virginia Satir)

เวอร์จิเนีย ซาเทียร์ (Virginia Satir 1916-1988) นักเขียน ครู และนักจิตบำบัดอเมริกัน ผู้บุกเบิกแนวคิดจิตบำบัดครอบครัว ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น Mother of Family Therapy หรือ มารดาแห่งจิตบำบัดครอบครัว เสนอกรอบคิดอันโด่งดัง เช่น ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Virginia Satir Change Process Model), ทฤษฎีเกราะป้องกันตนเพื่อความอยู่รอด (Survival Coping Stances), แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง (The Iceberg Model)

เวอร์จิเนีย ซะเทียร์ (Virginia Satir) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1916 ในเมืองเนียลส์วิลล์ (Neillsville) รัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) ประเทศสหรัฐอเมริกา มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1916-1988 และเสียชีวิตในวันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 1988 เมื่ออายุ 72 ปี

ซะเทียร์ เริ่มทำงานเพื่อสังคมในปี ค.ศ. 1950 ด้วยการบำบัดครอบครัวผู้ที่เป็นมารดาคนใหม่ และในปี ค.ศ. 1959 ซะเทียร์ ได้เข้าร่วมเป็นคณะทำงานของสถาบัน เอ็ม อาร์ ไอ (Mentral Resarch Institute: MRI) งานหลักของสถาบัน เอ็ม อาร์ ไอ (MRI) คือทำวิจัยด้านการ

สร้างปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวกับสุขภาพ และความเจ็บป่วยของสมาชิกครอบครัว ต่อมาในระหว่างปี ค.ศ. 1960-1970 ซะเทียร์ เริ่มสร้างแนวคิดและเทคนิคการให้คำปรึกษาครอบครัว ที่มุ่งเน้นรูปแบบการสื่อสาร โดยเขียนหนังสือเล่มแรกชื่อว่า “Conjoint Family Therapy” พิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1964 และมีการปรับปรุงในปี ค.ศ. 1983

“ซะเทียร์ ได้รับยกย่องว่าเป็นนักบำบัดที่มีชื่อเสียงจัดอยู่อับดับ 5 ของโลก” ซึ่งนักจิตวิทยาที่ติดอันดับ “The Top 10” ประกอบด้วย Cogers Rogers, Aaron T. Beck, Salvador Minuchin, Irvin Yalm, Virginia Satir, Alber Ellis, Murray Bowen, Jay Haley, Milton Erickson and John Gottman

สำหรับการเผยแพร่ทฤษฎีการให้คำปรึกษาครอบครัวของซะเทียร์ในทวีปเอเซีย ซะเทียร์ ได้เข้ามาจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในประเทศฮ่องกง (Hong Kong) เมื่อปี ค.ศ. 1983 โดยจัดประชุม จำนวน 2 วัน มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 300 คน และปัจจุบันประเทศฮ่องกง มีสมาชิกที่เป็นครูฝึกและนักบำบัด ที่ได้รับการฝึกปฏิบัติทฤษฎีการให้คำปรึกษาครอบครัวของซะเทียร์จำนวนมาก  สำหรับในประเทศไทย พบว่าลูกศิษย์ของซะเทียร์ ได้เข้ามาจัดฝึกอบรม ประมาณปี พ.ศ.2540 แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก ต่อมาในปี พ.ศ.2543 จอห์น เบนแมน (John Banmen) ได้เข้ามาจัดผึกอบรมให้กับบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุข และในปัจจุบันประเทศไทย ได้ก่อตั้งสมาคมเพื่อเผยแพร่การทำจิตบำบัดแนวซะเทียร์ชื่อว่า “สมาคมพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตบำบัดแนวซะเทียร์”

แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง เธอให้เปรียบเทียบจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก หลักการจิตใต้สำนึกที่โด่งดังไปทั่วโลก

จิตใต้สำนึกคืออะไร?

จาก ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Theory) ของ เวอร์จิเนียร์ ซาเทียร์ (Virginia Satir) ได้แบ่งระดับ ของจิตมนุษย์เราไว้ 2 ระดับ คือจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก ซึ่ง จิตสำนึก เปรียบเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้ ทักษะต่าง 1 รวมถึงการกระทำ คำพูด พฤติกรรมบางอย่าง รูปแบบในการดำเนินชีวิต ซึ่งเราสามารถควบคุมได้ ส่วน จิตใต้สำนึกเปยบเสมือนส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ หากเปรียบเทียบดส่วนแล้ว จิตสำนึกของคนเรามีดส่วนเพียงประมาณ 10 แต่จิตใต้สำนึกนั้นมีถึง 90%

จิตใต้สำนึก คือ จิตส่วนที่ทำหน้าที่ในการจดจำ บันทึกข้อมูล เรื่องราวหรือประสบการณ์ชีวิตของเรา ทั้งที่เป็นภาพเหตุการณ์ ความเชื่อ ความรู้สึก ทัศนคติ ทั้งที่เราจำได้และจำไม่ได้ ในสภาวะที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว แล้วสิ่งเหล่านั้นก็ถูกแสดงออกมาเป็น อุปนิสัยและพฤติกรรมองเรา รวมถึงมุมมองทางความคิดหรือทัศนคติองเรา

ไม่ว่าจะเป็นการตีความ ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิด หรือการตัดสินใจ โดยเราไม่สามารถบังคับควบคุมความรู้สึกนึกคิดหรือพฤติกรรมเหล่านั้นได้ เพราะมันทำงานเป็นอัตโนมัติไปแล้ว เช่น การกลัวไม่กล้าปฎิเสธหรือถาม อาการประหม่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าคนมาก ๆ การกินทั้ง ๆ ที่ไม่หิวแต่ไม่สามารถห้ามหรือหยุดพฤติกรรมนั้นได้

นอกจากนี้ จิตใต้สำนึก ยังเป็นตัวที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทฮอร์โมน ระบบกล้ามเนื้อ สมองจิตประสาท และระบบอวัยวะภายในของคนเราอยู่ลึก ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว

จิตใต้สำนึกมีอิทธิพลต่อชีวิตเราอย่างไร?

คุณทราบหรือไม่ว่าจิตใต้สำนึกมีพลังงานและมีอิทธิพลต่อชีวิตของเรามาก การที่เราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จหรือมีความทุกข์ความล้มเหลวในชีวิตนั้นขึ้นอยู่กับจิตใจของเราเป็นสำคัญ จิตในส่วนลึกที่ควบคุมความคิด คำพูดการกระทำต่าง ๆ ที่เราเรียกว่า”จิตใต้สำนึก” ซึ่งอยู่ลึกลงไปในสมองมากกว่าจิตสำนึก ทว่า มันอยู่ในส่วนของสมองที่ทรงพลังมากกว่าซึ่งจิตใต้สำนึกนี้มีส่วนในการขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตคุณถึง 90% ซึ่งจิตใต้สำนึกนี้จะควบคุมความคิดหรือจิตสำนึกที่มีส่วนในการขับเคลื่อนชีวิตคุณเพียง 10% อีกที หากจะเปรียบเทียบจิตใต้สำนึกกับภูเขาน้ำแข็ง จิตใต้สำนึกจะอยู่ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ เป็นส่วนที่ไม่มีใครเห็นและในหลาย ๆ ครั้งเจ้าตัวก็ไม่ทราบ และด้วยความที่มันอยู่ลึกมากจนเจ้าตัวอาจไม่รู้ตัว จึงทำให้จิตใต้สำนึกของ เด็กน้อยในตัวคุณ นี้ไม่เคยได้รับการพัฒนาให้เรียนรู้และเติบโต และด้วยความไม่ตระหนักรู้ จิตใต้สำนักของ เด็กน้อยในตัวคุณ ซึ่งทรงพลังมากจึงขับเคลื่อนชีวิตของคุณไปในทิศทางที่ไม่ได้อยากไปและเป็นพลังงานดึงดูดคนที่ไม่ได้ต้องการได้อย่างง่ายดาย

“ความสุขที่แท้จริง” คืออะไร ? ดูเหมือนทุกคนบนโลกต่างก็ไขว่คว้าหา “ความสุข” อย่างแสนจะเหน็ดเหนื่อย และโดยมากมักจะเชื่อกันว่า ความสุขก็คือ วัตถุภายนอก ข้าวของเงินทอง กระทั่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ ทุกคนต่างแย่งชิงไล่ล่าอย่างไม่รู้จบ แต่มักจะได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ได้มากบ้าง น้อยบ้าง ไม่เคยสมใจหรือพอใจ หนำซ้ำเมื่อได้มากลับนำความทุกข์มาให้อย่างหนักหนายิ่งกว่าเดิม เพื่อที่ในที่สุดก็พบว่า มันหาใช่ความสุขที่แท้ไม่ !

ซาเทียร์ คือ ทฤษฎีทางจิตวิทยาซึ่งให้คำตอบว่า

ความสุขที่แท้นั้น ย่อมเริ่มต้นจากภายในจิตใจของตน ยอมรับตนเอง รัก เข้าใจ เมตตาตนเอง แล้วเผื่อแผ่ การยอมรับ ความรัก เข้าใจ

และเมตตาสู่เพื่อนร่วมโลก


นั่นคือ ทฤษฎีทางจิตวิทยาที่ชื่อว่า “ซาเทียร์” ที่เข้าถึงธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์มากที่สุด

ซาเทียร์มีแนวทางใกล้เคียงกับหลักธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

และหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างยิ่ง แม้ว่าซาเทียร์จะถูกค้นพบโดยจิตวิทยาชาวอเมริกัน (เวอร์จิเนียร์ ซาเทียร์ (Virginia Satir)

แพทย์บำบัดครอบครัว) ซึ่งเขาพบว่า ปัญหาของคนเราทุกวันนี้ก็คือ

“การไม่ยอมรับในตนเองอย่างแท้จริง ไม่เห็นคุณค่า ไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง”



การทำความเข้าใจผ่านที่มาครอบครัว และแบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง

แนวคิดและหลักการของซาเทียร์ จะไม่ชิงชังตนเอง หากเรารู้สึกโกรธ เกลียด รัก หรือรู้สึกใดๆก็ตาม จงยอมรับว่ามันคือปกติ คือธรรมชาติของมนุษย์ และตามดูมันเพื่อศึกษาอย่างมีสติ โดยไม่ตกเป็นเหมือนทาสที่โดนบงการ ไม่ลงโทษตนเอง เพราะชีวิตของทุกคนย่อมผิดพลาดได้ ดังนั้นจงอภัยให้ตนเอง ไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพราะว่าความสมบูรณ์แบบไม่มีในโลก ไม่ต้องยิ่งใหญ่หรือสูงส่ง เพราะนั่นรังแต่นำความหนักหน่วงมาให้ (Perfection is diesese) หนำซ้ำยังจะทำให้พบความสุขแท้ได้ยากยิ่ง เราพะชีวิตที่มีความสุขที่แท้ก็คือ ความพอเพียง เรียบง่าย เบาสบาย และ สุขเย็น ไม่ต้องเลียนแบบใคร หรือพยายามใช้ชีวิตให้เหมือนใคร เพราะนั่นคือการฝืนธรรมชาติของตนเอง เพราะเหตุว่า ไม่มีอะไรดีกว่าการเป็น “ตัวเรา” แม้ทุกคนจะเลือกเกิดไม่ได้ แต่จงมั่นใจว่าคนเราเปลี่ยนแปลงได้ เลือกได้ เลือกที่จะมีความสุข เปลี่ยนแปลง พัฒนา และเติบโตได้อยู่เสมอ มั่นใจในศักยภาพแห่งตน ทุกคนล้วนมีคุณค่าในตนเอง และค้นให้พบขุมพลังอันยิ่งใหญ่ในตัวเรา พราะการทำงานกว่า 50 ปีของซาเทียร์ ถูกนำไปทดลองใช้กับหลายพื้นที่หลากวัฒนธรรม เธอมุ่งพัฒนา ค้นคว้า วิจัยแนวคิดจิตบำบัดครอบครัวที่นำไปปรับใช้หรือคลี่คลายปัญหาในครอบครัว กับคนทำงานทางสังคม และกับครูในโรงเรียน ด้วยวิธีการให้ผู้คนเหล่านั้นเข้าใจความคาดหวัง แรงปรารถนา และศักยภาพที่ซ่อนอยู่ผ่านระดับความเชื่อมั่นในตัวเอง คีย์เวิร์ดของแนวคิดซาเทียร์คือ หารูปแบบที่ทำให้แต่ละคนพัฒนา เปลี่ยนแปลงวิธีการเห็นตัวเอง เข้าใจ และอธิบายตัวเองได้อย่างชัดแจ้ง เข้าใจว่า ‘สิ่งที่แสดงออก’ ใช่สิ่งที่อยู่ในใจจริงๆ หรือไม่ ซาเทียร์มีวิธีการและรูปแบบที่หลากหลาย แต่แก่นแกนหรือวิธีที่ถูกพูดถึงในวงกว้าง และจะขอยกมาอธิบายในที่นี้ คือ

ร่างกายคนเราต้องการ “อาหารหล่อเลี้ยงร่างกาย” ฉันใด ก็ย่อมต้องการ “อาหารหล่อเลี้ยงจิตใจ” ฉันนั้น

“อาหารใจ” 10 หมู่หลัก ๆ ที่คนต้องการ ได้แก่

  1. ความรัก

  2. การยอมรับ

  3. ความเป็นอิสระ

  4. ความชื่นชม

  5. ความรู้สึกมีคุณค่า

  6. ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน

  7. ความมั่นคงปลอดภัย

  8. ความสัมพันธ์เชื่อมโยง

  9. ความใกล้ชิด

  10. ความสงบสันติ

เราต้องหมั่นคอยสังเกตว่าจิตใจเราทำงานอย่างไร เวลามีอะไรเข้ามากระทบเรา เรามีความคิดอย่างไร เรามีความรู้สึกอย่างไร

การทำความเข้าใจการทำงานของจิตใจค่อนข้างเป็นเรื่องนามธรรมที่จับต้องได้อย่าง ไม่เหมือนร่างกายที่มีการศึกษาการทำงานของร่างกายโดย “กายวิภาค” ในด้านจิตใจนั้น เราใช้แนวคิดในเรื่องภูเขาน้ำแข็ง มาใช้เป็นแผนที่แสดงกลไกการทำงานของจิตใจ

สิ่งที่อยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็ง จะทับซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ

  1. Feeling – อารมณ์ ความรู้สึกที่เราแสดงออก

  2. Feeling about Feeling – อารมณ์ ความรู้สึก ที่มีต่อความรู้สึกที่เราแสดงออก เช่น เรามีความรู้สึกผิดที่เราแสดงความโมโหออกไป

  3. Perception – ความคิดที่เรามีต่อตนเอง (Self) ต่อผู้อื่น (Other) ต่อบริบท (Context)

  4. Expectation – ความคาดหวังที่เรามีต่อตนเอง (Self) ต่อผู้อื่น (Other) ต่อบริบท (Context)

  5. Yearning – อาหารใจ

  6. Self – พลังชีวิต

การเปลี่ยนแปลงตนเองภายใต้แนวคิดภูเขาน้ำแข็ง อยู่ที่ว่าเราจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงในส่วน Feeling, Perception, Expectation หรือต้องเข้าไปเติมเต็มอาหารใจ เช่น เด็กแว๊นท์ที่เขามีพฤติกรรมแสดงออกเช่นนั้น เพราะต้องการได้รับการยอมรับ

สิ่งที่ต้องค้นหาก็คือ เราเอาตัวเองไปผูกติดกับเงื่อนไขบางอย่างมากจนเกินไปหรือไม่ ? เช่น

  • ฉันจะรู้สึก มั่นคง ก็ต่อเมื่อ …

  • ฉันจะรู้สึก เป็นที่ยอมรับ ก็ต่อเมื่อ…

  • ฉันจะรู้สึก เป็นที่รัก ก็ต่อเมื่อ…

  • ฉันจะรู้สึก เป็นอิสระ ก็ต่อเมื่อ…

จงยอมรับในสิ่งที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน ต้องเริ่มจากการตระหนักรู้ ยอมรับ จึงจะนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงตนเอง

บทสรุปวิทยาศาสตร์ กับชีวิตมนุษย์

 วิทยาศาสตร์พิสูจน์ทดลองพบว่า ชีวิตมนุษย์ขับเคลื่อนด้วยจิตใต้สำนึก

ผลการวิจัยทดลอง สรุปตามแนวคิดของ ดร.บรูซ ลิปตัน (Dr.Bruce Lipton) ศาสตราจารย์ชีววิทยาผู้เชี่ยวชาญ

ด้านเซลล์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ให้หลักการกระบวนการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ถึงการทำงานของ

จิตใต้สำนึก (unconscious mind) โดยบอกความหมายว่า

จิตใต้สำนึกควบคุมระบบปฏิบัติการอัตโนมัติของร่างกายทั้งหมด เช่น จังหวะการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ระบบย่อยอาหาร การหลั่ง ฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกัน

การทำงานของหน่วยพันธุกรรม ฯลฯ และยัง เป็นตัวกำหนดโรคประจำตัวที่เกิดขึ้นในร่างกายของแต่ละคนด้วย

ในทางพุทธศาสนาบอกว่า ส่วนของจิตใต้สำนึกสะสมสัญญา เวทนา เก่าๆ ไว้หลายร้อยหลายพันภพชาติ

ดังนั้นจึงไม่สามารถประเมินพลังของ จิตใต้สำนึกได้เลยว่ามีมากมายเพียงใด ตามปกติแล้ว

ลำพังจิตใต้สำนึกไม่สามารถสั่งงานร่างกายได้โดยตรง แต่ในสภาวะหลับลึกซึ่งเป็นช่วงที่สมองหยุดพัก

และจิตสำนึกไม่ทำงานนั้น มีบางครั้งที่จิตใต้สำนึกสามารถสั่งงานมาที่กล้ามเนื้อโดยตรง และบังคับ

ให้แสดงพฤติกรรมตามที่มันต้องการ

 การศึกษาพลังจิตภายในตัวของมนุษย์ในแง่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

พลังจิตแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบตามลักษณะการใช้งาน ดังต่อไปนี้

อนิมัล ไซ (Animal Psi)  คือ  ความสามารถในการพูดคุยกับสัตว์

แอนตี้ ไซ (Anti Psi) คือ  สามารถรับการโจมตีโดยใช้พลังจิตป้องกัน

แอสตรัลโปรเจคชั่น (Astral Projection)  คือ  การถอดกายทิพย์

ไบโอ คอนโทรล (Biocontrol) คือ สามารถควบคุมการทำงานอวัยวะภายในร่างกายได้

เช่น ระบบการหมุนเวียนของเลือด รักษา บรรเทาอาการเจ็บปวด

แชนเนลลิ่ง (Channeling) คือ ติดต่อกับวิญญาณหรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในมิติที่ละเอียดกว่า

ไมนด์ชีลด์ (Mindshield) คือ ป้องกันการโจมตีจากพลังจิต

พรีคอคนิชั่น (Precognition) คือ ความสามารถหยั่งรู้อนาคต

ไซคิค ฮีลลิ่ง (Psychic Healing) คือ  การรักษาด้วยพลังจิต

ไซคิค ฮิปโนซิส (Psychic Hypnosis)  คือ การสะกดให้นอนหลับโดยใช้พลังจิตเข้าช่วย

ไซคิค อินวิซิบิลิตี้ (Psychic Invisibility) คือ การล่องหนหายตัวโดยใช้พลังจิต

ไซคิค แวมไพริซึ่ม (Psychic Vampirism) คือ ความสามารถในการดูดซับพลังชีวิตของคนอื่น

ไซโคเมทรี (Psychometry) คือ รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตโดยการจับต้องสิ่งของ

เช่น การค้นหาผู้สูญ หายโดยการจับรูปถ่ายหรือของใช้ของเขา

ไซโคพอร์เทชั่น (Psychoportation) คือ พลังจิตเคลื่อนย้ายวัตถุ/ตนเอง ไปยังจุดหมายที่ต้องการ

ซีเนอร์จี (Synergy) คือ ความสามารถในการผสมผสานพลังจิตเข้าด้วยกัน

เทเลพาธี (Telephathy)  คือ การติดต่อผ่านทางจิต

เอ็มพาธี (Empathy) คือ รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นได้

เลวิเตชั่น (Levitation) คือ การลอยตัวโดยใช้พลังจิต

ไซ-บอล (Psi-Ball) คือ การสร้างบอลพลังจิต เพื่อใช้ประโยชน์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

ไมนด์คอนโทรล (Mindcontrol) คือ ควบคุมจิตใจผู้อื่น การค้นคว้าของตระกูลคิเนซิส

เทเลคิเนซิส (Telekinesis) คือ การควบคุม/เคลื่อน วัตถุสิ่งของโดยใช้พลังแห่งจิต

ไพโรคิเนซิส (Pyrokinesis) คือ ควบคุมเปลวเพลิง สร้างไฟขึ้นมาได้

ครายโอคิเนซิส (Cryokinesis) คือ ควบคุมธาตุน้ำ ทำน้ำให้กลายเป็นน้ำแข็ง

แอโรคิเนซิส (Aerokinesis) คือ ควบคุมอากาศ สร้างสายลม

โครโนคิเนซิส (Cronokinesis) คือ ควบคุมกาลเวลา สามารถเดินทางไปยังอดีตหรืออนาคตได้

ฉะนั้น ในแง่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แล้ว ร่างกายของมนุษย์เรานั้น เป็นแหล่งผลิตพลังงาน

ที่ทรงประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง

ดังนั้นจึงมีพลังในรูปแบบต่างๆมากมายที่เกิดขึ้นในร่างกายของเรา แหล่งพลังงานหรือวัตถุดิบที่เรานำมาใช้

เพื่อผลิตพลังงานนั้นล้วนเป็นสิ่งที่เราหยิบยืมแบ่งสรรมาจากธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเราทั้งสิ้น

เช่น นำมาจากดิน จากน้ำ จากอากาศ จากพืช สิ่งที่ได้มาก็คือแร่ธาตุต่างๆ ส่วนจากไฟ สิ่งที่ได้มา

คือพลังงานความร้อน สิ่งเหล่านี้เมื่อเข้ามาประชุมรวมกันในร่างกายของเรา โดยการกิน การดื่ม

การหายใจแล้ว กระบวนการในร่างกายของเราก็จะเปลี่ยนสิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นโครงสร้าง

เป็นอวัยวะของร่างกาย และเป็นพลังงานเพื่อทำให้อวัยวะและโครงสร้างของเราเกิดการเคลื่อนไหว

เกิดการทำงานเพื่อทำให้ชีวิตเราดำรงอยู่ได้

พลังงานที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตพลังงานในร่างกายของเรานั้นมีอยู่หลายประการด้วยกัน

ที่สำคัญคือ พลังความร้อน พลังไฟฟ้า พลังแม่เหล็ก พลังแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงสว่าง

พลังเหล่านี้มันไหลเวียนอยู่ภายในร่างกายของเรา แทรกซึมอยู่ทุกอวัยวะ แล้วทุกอวัยวะนั้นประกอบด้วยเซลล์

เซลล์ประกอบขึ้นจากสารประกอบ สารประกอบประกอบขึ้นจากโมเลกุล โมเลกุลประกอบขึ้นจากธาตุ

ธาตุประกอบขึ้นจากอะตอม อะตอมประกอบขึ้นจากอนุภาคที่เล็กกว่า คือ อิเลคตรอน โปรตอน และ นิวตรอน

พลังงานที่ร่างกายผลิตขึ้นมา มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ เพื่อให้อิเลคตรอนใช้เป็นพลังงานในการเคลื่อนไหว

ทั้งในการเคลื่อนไหวหมุนรอบนิวเคลียส ทั้งการเคลื่อนที่ไปสู่อะตอมอื่น การเคลื่อนไหวของอิเลคตรอน

ในร่างกายของเรามีความหมายอย่างยิ่ง เพราะมันหมายถึงชีวิตและสุขภาพของเราเลยทีเดียว

เนื่องจากการเคลื่อนไหวของอิเลคตรอนจะทำให้ อะตอม โมเลกุล เซลล์ อวัยวะ เกิดการเคลื่อนไหวทำงาน

มันคือการทำงานจากระดับเล็ก สู่ระดับใหญ่ หมุนเวียนส่งต่อกันไป

พลังความร้อน พลังไฟฟ้า พลังแม่เหล็ก พลังแสงสว่าง ที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อให้อิเลคตรอนใช้เคลื่อนที่นั้น

จะเป็นพลังงานที่มีความเข้ม ความถี่ อยู่ในช่วงที่พอเหมาะแก่ร่างกายของเราช่วงหนึ่ง และในทางกลับกัน

การเคลื่อนไหวของอิเลคตรอนก็ทำให้ได้ พลังความร้อน พลังไฟฟ้า พลังแม่เหล็ก พลังแสงสว่าง ออกมาเช่นกัน

ซึ่งร่างกายของคนที่สุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ อิเลคตรอนย่อมจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วและความถี่ที่เหมาะสมค่าหนึ่ง

พลังที่ออกมาก็จะมีความเข้ม ความถี่ ที่ใกล้เคียงหรือเท่ากับที่ให้เข้าไป พลังที่มีความสำคัญมากคือ พลังแสงสว่าง

เพราะมันเป็นพลังที่เป็นต้นกำเนิดของพลังอื่นๆ และพลังเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้ว มันสามารถเปลี่ยนรูปกันได้

กลับไปกลับมา เมื่อเราทานอาหาร นอกเหนือจากได้รับแร่ธาตุแล้ว เรายังได้รับพลังแสงเข้าไปอีกด้วย

โดยได้รับโดยทางอ้อม กล่าวคือ เราอาศัยพืชเก็บพลังงานแสงให้เรา โดยกระบวนการสังเคราะห์แสง (Photo synthesis)

จากดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแสงสว่าง เก็บพลังงานแสงไว้ในรูปของสารอาหารที่พืชผลิตขึ้น

เพื่อรอให้กระบวนการย่อยอาหารของเราปลดปล่อยพลังงานแสงออกมาให้เราใช้งาน เพื่อเป็นพลังให้แก่อิเลคตรอนเคลื่อนที่

ร่างกายของคนที่สุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ อิเลคตรอนจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วและความถี่ที่จะทำให้ได้

พลังานแสงที่อยู่ในช่วงคลื่นของแสงสีเหลือง

แสงสีเหลืองที่ออกมาจากเซลล์ ออกมาจากอวัยวะของเรานี้ อาจสามารถมองเห็นได้เมื่อเราสำรวมจิตใจให้สงบ หลับตาลง

ปิดเปลือกตาลงแล้วลืมตาขึ้นข้างในมองไปที่ผนังตา ยิ่งจิตเราสงบมากเท่าใด ก็จะเห็นชัดขึ้นเท่านั้น

แต่หากร่างกายหรืออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดของเราปล่อยพลังแสงที่อยู่ในช่วงคลื่นที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าออกมา

เช่น มืดดำ แดงเข้ม น้ำเงิน ม่วง แสดงว่าร่างกายหรืออวัยวะตรงนั้นทำงานผิดปกติ เพราะอิเลคตรอนบริเวณนั้นวิ่งช้าลง

หรืออาจได้รับคลื่นรังสีที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่เซลล์จะรับได้และเป็นอันตรายต่อเซลล์เข้ามามาก

นั่นคือ เราเกิดความเจ็บป่วยขึ้น อาการของความเจ็บป่วยก็จำแนกออกเป็นโรคชนิดต่างๆ

เมื่อเราเจ็บป่วย ร่างกายของเราก็จะพยายามปรับสภาพให้อวัยวะที่ทำงานผิดปกติกลับคืนมา

สู่สภาพปกติเท่าที่ร่างกายเราจะทำได้ โดยพยายามนำพลังงานและแร่ธาตุที่มีอยู่มารักษาซ่อมแซม

แต่หากร่างกายเจ็บป่วยมากจนเกินความสามารถที่ร่างกายจะซ่อมแซมตัวเองได้ ก็จะต้องรักษาด้วยการใช้ยา

หรือวิธีทางการแพทย์

นอกจากอาหารและยาแล้ว สิ่งที่สามารถฟื้นฟูร่างกายได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ แสงในช่วงคลื่นความถี่ที่เหมาะสม

คือแสงที่อยู่ในช่วงคลื่นแสงสีเหลือง พลังแสงสีเหลืองนี้มีชื่อเรียกขานมานานว่า ปราณ หรือ ลมปราณ

ถือเป็นพลังชีวิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งโดยปกติจะเข้าสู่ร่างกายของเราโดยการ กินอาหาร ดื่มน้ำ

และการหายใจ ซึ่งนอกเหนือจาก การกิน ดื่ม และหายใจแล้ว การใช้พลังจิตดึงกระแสลมปราณเข้า

สู่ร่างกายก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถกระทำได้ เป็นการนำพลังเข้าสู่ร่างกายโดยตรงไม่ต้องผ่านตัวกลางอื่น

ดังจะพบได้ในศาสตร์ตะวันออกแขนงต่างๆที่มีมาแต่โบราณ สำหรับในยุคปัจจุบัน เนื่องจากสภาวะแวดล้อม

และชั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยพลังงานเสียและปราณพิษ ไม่บริสุทธิ์เหมือนในอดีต ดังนั้นการใช้พลังจิตดึงพลังต่างๆ

เข้าสู่ร่างกายโดยตรง จึงอันตรายเป็นอย่างยิ่ง (ปัจจุบัน พระอาจารย์ไม่แนะนำให้ใช้พลังจิตดึงพลังเข้าสู่ร่างกายโดยตรง

แต่มีวิธีการอื่นในการนำพลังต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านอุปกรณ์พีรามิด - ศึกษารายละเอียดได้จาก

องค์ความรู้ของพระอาจารย์รัตน์ ในหนังสือทางรอด)

 การที่แสงสว่างหรือปราณสามารถฟื้นฟูร่างกายได้ ก็เพราะว่า พลังงานแสงนั้นนอกจากจะประพฤติตนเป็นคลื่นแล้ว

ยังสามารถประพฤติตนเป็นอนุภาคได้อีกด้วย โดยมีชื่อเรียกว่าอนุภาคโฟตอน (Photon) จัดเป็นกลุ่มอนุภาคเสมือน

ซึ่งต่างจากอนุภาคจริงตรงที่เป็นอนุภาคที่ไม่มีมวล แต่สามารถแสดงคุณสมบัติของอนุภาคจริงได้

คือการมีโมเมนตัม (Momemtum) คือสามารถถ่ายทอดพลังงานจากการชนได้ ปรากฎการณ์ที่แสงประพฤติตนเป็นได้ทั้งคลื่น

และอนุภาคนี้ เรียกว่าทวิภาคของคลื่นและอนุภาค การที่แสงสามารถฟื้นฟูร่างกายได้ ก็เพราะ การประพฤติตนเป็นอนุภาค

เข้ามาชนกับอิเลคตรอนในอะตอมของเซลล์ในร่างกายให้มันเพิ่มพลังขึ้น

กระบวนการที่ทำให้อิเลคตรอนเคลื่อนที่เข้าสู่ระดับพลังงาน หรือระดับวงโคจรที่สูงกว่าเดิม โดยใช้พลังงานแสงเป็นตัวเพิ่มพลังนั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ปรากฏการณ์โฟโตอิเลคทริค" เป็นปรากฏการณ์ของแสงที่ประพฤติตนเป็นอนุภาค เมื่อเข้ามาชนอนุภาคอิเลคตรอนแล้วจะเกิดการถ่ายทอดพลังจากการกระทบให้แก่อิเลคตรอน เมื่ออิเลคตรอนได้รับพลังงานแล้วก็จะเคลื่อนที่เข้าสู่ระดับพลังงานที่สูงกว่าเดิม โดยระดับพลังงานที่เคลื่อนที่เข้าไปสู่นั้นจะแปรผันตรงกับความถี่ของแสงที่เข้ามาตกกระทบด้วย

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่เคยรู้จักหรือใช้พลังจิตมาก่อน พลังจิตเป็นสิ่งลี้ลับที่คนทั่วไปไม่สามารถใช้ได้ นอกจากผู้ที่มีการฝึกจิต

(แบบที่มนุษย์ทั่วไปไม่มีทางทำได้)จนแก่กล้าแล้วเท่านั้น จึงใช้พลังจิตได้

พลังจิตนั้น แท้ที่จริงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ คนธรรมดาทั่วไปทุกคน เกิดมาพร้อมศักยภาพในการใช้พลังจิตอยู่แล้ว

เหมือนกับที่คนปกติทุกคนเกิดมาพร้อมกับศักยภาพที่จะสามารถขับรถหรือพูดภาษาอังกฤษได้นั่นแหล ซึ่งในทางกลับกัน

ถ้าเราไม่เคยพูดภาษาอังกฤษ มันก็พูดไม่ได้ หรือไม่ได้พูดนานๆสักสิบปี มันก็พูดไม่ได้ 


เอกสารอ้างอิง:

Banmen, J. (2002). The Satir model: Yesterday and today. Contemporary Family Therapy 24(1), 7-22.
Bodin, A. M. (1988, December). Virginia Satir: A memorium. Journal of Family Psychology, 117-118.
Freeman, M. L. (1999). Gender matters in the satir growth model. The American Journal of Family Therapy, 27(1), 345-363.
McLendon, J. A. (1999). The Satir system in action. In D. J. Wiener (Ed.), Beyond talk therapy:
ภาพแลพข้อมูลประกอบ : จากเพจ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 
ภาพและข้อมูลประกอบ : โดย เณริศา อิศรางกูร ณ อยุธยา MindSpring Consulting
ภาพและข้อมูลประกอบ : https://christlike.co/resource/work-of-unconscious-mind/

ชอบอ่านหนังสือพัฒนาตัวเอง สามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่  << คลิก >>


สนใจสั่งซื้อ E-book ผ่าน Google  ดูรายละเอียดเพิ่มเติม  <<คลิก>>


สั่งซื้อตรงจากผู้เขียน ราคาพิเศษ  1,599 บาท จากราคาปก 2,900 บาท  


ติดต่อ Line : @767oliro    <<คลิก>>


ออกแบบตกแต่งปกและภาพประกอบ  จาก : canva : จาก pixabay 

►ภาพประกอบ จาก wikipedia นิโคลา เทสล่า รูปภาพ T am :Tom Shadyac

โดย  อมรรัตน์ บุญฤทธิ์ : Ami  Lawyer  ผู้เขียนบทความ & Ebook 





    



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คู่มือหมอดูตาทิพเงินล้าน พลังตัวเลขพญานาคราช 999 #ดูดวงชะตา

คัมภีร์เปลี่ยนชีวิต สะกดจิต ผลิตเงินล้าน รวมสูตรลับความสำเร็จ กฎแรงดึงดูด [Law of Attraction] พิสูจน์สิ่งมหัศจรรย์ด้วยตัวคุณเอง #ภาพยนตร์สารคดีวิทยาศาสตร์ " I Am : Tom Shadyac "

ความลับจินตนาการ ดึงดูดสร้างความสำเร็จ !! โดย Neville Goddard [เนวิลล์ ก็อดดาร์ด] บุคคลสำคัญแห่งโลก