จิตมีพลัง ฤทธิ์ทางใจ (จิตผู้รู้ ตาที่3) กับ จิตหลงรู้อย่างละเอียด ฝึกจิตให้เห็นสภาวธรรมแท้ตามจริง
จิตมีพลัง ฤทธิ์ทางใจ (จิตผู้รู้ ตาที่3) กับ จิตหลงรู้อย่างละเอียด ฝึกจิตให้เห็นสภาวธรรมแท้ตามจริง
“มีฤทธิ์ทางใจ” ถูกเรียกและใช้สอนตามคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ หรือหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม(ท่าซุง) ในหลักสูตรวิชา “มโนมยิทธิ”
“มโนมยิทธิ” แปลความตามตัวอักษรได้ว่า “มีฤทธิ์ทางใจ” คือ การรู้ การเห็น การสัมผัส ตามความเป็นจริงด้วยใจ
ตาที่ 3 หรือที่เรารู้จักกันในนามว่า third eye เป็นจุดจักระที่ทุกคนรู้จักมากกกที่สุดเพราะเป็นจุดที่เชื่อกันว่าหากเปิดแล้วจะทำให้เราเห็นอดีต/อนาคต หรือสิ่งที่มองไม่เห็น สิ่งนั้นเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องเล่า และหากเราต้องการเปิดจะต้องทำยังไง เปิดแล้วเห็นผีจริงๆไหม เอมมีคำตอบให้กับทุกคนค่ะ ในศาสนาฮินดูถือว่า อาชญาจักระ คือตาที่สาม เป็นจักระแห่งจิต คือดวงตาแห่งพุทธิปัญญา มนุษย์มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ในความฝันก็โดยอาศัยอาชญาจักระนี้ และพลังงานทางจิตวิญญาณจากสิ่งแวดล้อมจะเข้ามาในร่างกายผ่านจักระนี้ด้วย อาชญาจักระยังเป็นจุดบรรจบของนาฑิทั้งสามก่อนจะไหลขึ้นสู่สหัสราระซึ่งเป็นจักระสูงสุด ผู้ปฏิบัติโดยเพ่งที่จักระนี้จะสามารถพ้นจากทวิภาวะได้ ลัทธิอนุตตรธรรมเรียกตำแหน่งตาที่สามว่าจุดญาณทวาร เชื่อว่าวิญญาณจะเข้าออกร่างกายผ่านทางประตูนี้ และเป็นทางเดียวที่วิญญาณจะใช้ผ่านเพื่อกลับคืนสู่สวรรค์ซึ่งถือเป็นบ้านเกิดของวิญญาณทุกดวง ลัทธินี้ยังเชื่อว่าตำแหน่งจุดญาณทวารถูกปิดเป็นความลับสวรรค์มาแต่โบราณ แม้แต่ผีสางเทวดาก็ไม่รู้ แต่อริยชนผู้บรรลุแล้วในอดีตได้แสดงเป็นปริศนาไว้ในคัมภีร์ต่าง ๆ ลัทธิอนุตตรธรรมเชื่อว่าเฉพาะผู้ได้รับอาณัติแห่งสวรรค์จากพระแม่องค์ธรรมเท่านั้นที่จะเปิดจุดญาณทวารได้ การเจิมเปิดจุดญาณทวารจะกระทำในพิธีถ่ายทอดเบิกธรรม ซึ่งดำเนินพิธีเป็นความลับ ไม่เปิดเผยให้คนนอกรับรู้ ผู้ที่รู้แล้วห้ามนำไปบอกต่อ เพราะเชื่อว่าจะถูกสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ สัญลักษณ์ตาที่สามและความหมาย
ตาที่สามหรือที่เรียกว่าตาภายในหรือตาแห่งปัญญาเป็นสัญลักษณ์ลึกลับที่มักเกี่ยวข้องกับการตรัสรู้ สัญชาตญาณ และความสามารถในการรับรู้นอกเหนือจากสายตาปกติ
รอยสักตาที่สามมักเป็นสัญลักษณ์ของการแสวงหาการตื่นรู้และการตรัสรู้ทางจิตวิญญาณ มันแสดงถึงความปรารถนาของแต่ละบุคคลที่จะเปิดใจไปสู่ระดับจิตสำนึกและภูมิปัญญาภายในที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงถึงความสามารถในการมองเห็นนอกเหนือจากที่ตาเปล่ามองเห็นได้ ซึ่งแสดงถึงสัญชาตญาณ การมองการณ์ไกล และการรับรู้ นอกจากนี้ยังสามารถเป็นสัญลักษณ์ของการป้องกันพลังชั่วร้ายอีกด้วย สัญลักษณ์: การตื่นรู้ทางจิตวิญญาณ, การตรัสรู้, จิตสำนึกที่สูงขึ้น, ภูมิปัญญาภายใน, สัญชาตญาณ, การมองการณ์ไกล, การรับรู้, การปกป้อง วีธีการ เปิดดวงตาที่สาม โดยฝึกสมาธิมีหลายหลายรูปแบบ ตัวอย่างอาทิ ในศาสนาฮินดู ดวงตาที่สามเป็นสัญลักษณ์ของสภาวะหยั่งรู้ขั้นสูงที่คุณใช้ในการรับรู้ถึงสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้เทคนิคการฝึกสมาธิแบบดั้งเดิมจะช่วยให้คุณได้เปิดจักระนี้ และเข้าใจจักรวาลรอบตัวอย่างลึกซึ้งและถ่องแท้ยิ่งขึ้น หาจักระดวงตาที่สาม.
จักระคือพลังงานที่อยู่ตรงจุดศูนย์กลางของร่าง โดยพื้นฐานแล้วจักระคือวงล้อพลังงานที่เรียงตามแนวกระดูกสันหลัง จักระมีอยู่ด้วยกัน 7 ตำแหน่ง และแต่ละจักระก็จะส่งผลต่อสภาวะทางกาย ทางใจ และทางจิตวิญญาณในส่วนที่ต่างกัน ดวงตาที่สามเป็นจักระที่ 6 จักระดวงตาที่สามอยู่ตรงสมองส่วนหน้าสุดระหว่างดวงตาทั้งสองข้างและอยู่เหนือจมูกขึ้นมาพอดี เวลาทำสมาธิ พยายามกำหนดจิตไปที่จักระนี้ เพราะมันจะช่วยให้คุณมองเห็นโลกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เลือกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม. การฝึกสมาธิเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยเปิดดวงตาที่สามได้ดีที่สุด การตระหนักถึงความคิดมากขึ้นจะทำให้คุณสามารถเข้าถึงความกระจ่างแจ้งทางใจที่สัมพันธ์กับดวงตาที่สามได้ดีขึ้น เป้าหมายหลักของการทำสมาธิก็คือ การให้จิตใจได้จดจ่ออยู่กับความคิดหรือวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อคุณเริ่มฝึกสมาธิใหม่ๆ คุณต้องเลือกสภาพแวดล้อมที่ทำให้คุณรู้สึกสบายใจ บางคนรู้สึกสงบและจิตใจเปิดโล่งมากกว่าเวลาที่ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ถ้าคุณเองก็เป็นอย่างนั้น คุณก็อาจจะเลือกฝึกสมาธิกลางแจ้ง หาที่ที่อุณหภูมิเหมาะสมและสามารถนั่งได้โดยไม่มีใครมารบกวน คุณสามารถฝึกสมาธิในบ้านได้เช่นกัน หลายคนกำหนดพื้นที่ในบ้านให้เป็นที่สำหรับฝึกสมาธิโดยเฉพาะ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะมีเบาะรองที่ช่วยให้นั่งบนพื้นได้สบายขึ้น และอาจจะจุดเทียนและเปิดเพลงผ่อนคลายไปด้วย จำไว้ว่าการฝึกสมาธิเป็นกระบวนการส่วนบุคคล คุณควรเลือกสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับคุณ กำหนดอิริยาบถ. ความสัมพันธ์ระหว่างใจและกายเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำสมาธิ ยิ่งกายสบายเท่าไหร่ คุณก็สามารถกำหนดการทำสมาธิไปที่วัตถุหรือความคิดได้ดีขึ้นเท่านั้น โดยทั่วไปอิริยาบถที่เชื่อกันว่าทำให้เกิดสมาธิได้มากที่สุดก็คือ การนั่งขัดสมาธิบนพื้นแบบใดแบบหนึ่ง เลือกวัตถุสำหรับทำสมาธิ. วัตถุสำหรับทำสมาธิเพื่อให้จิตจดจ่อ เช่น ฝึกอาศัยกายและนามในร่างกายเราเอง หรืออุปกรณ์อื่น บางแหล่งอาศัยธรรมชาติรอบตัวเราในการฝึก แหล่งที่มาบทความ วีกิพีเดีย
บทวิจารณ์โดย Alexander Lys, ML ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยสัญลักษณ์และจิตวิทยาความฝัน ผู้เข้าร่วมที่ได้รับการรับรองในการสัมมนาและหลักสูตรทางจิตวิทยามากมาย ผู้เขียนบทความเกี่ยวกับจิตวิทยาหลายร้อยบทความ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับสัญลักษณ์ในความฝันและตำนานจากมุมมองทางวิทยาศาสตร์
ฟังคลิปวีดีแบ่งปันแชร์ประสบการณ์ ฝึกจิตวิญญาณ ให้มีกำลังฤทธิ์ทางใจ ตามลิงค์ด้านล่าง
ความคิดเห็น